top of page

พระสมเด็จปรกโพธิ์

ปีที่สร้าง:

2518

จำนวนการสร้าง:

เนื้อผงเกสร: 33,000 องค์
เนื้อผงใบลาน: 10 องค์

พระสมเด็จปรกโพธิ้ ได้มีการจัดสร้างขึ้นโดยวัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรม) เมื่อปี พ.ศ. 2518 แล้วนำออกให้บูชา แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก เพราะว่าพิมพ์คล้ายกับพระสมเด็จของวัดใหม่อมตรสมากเกินไป ทางวัดประดู่ฉิมพลีจึงได้เก็บรักษาไว้ หลวงปู่โต๊ะท่านได้เมตตาปลุกเสกร่วมกับพระพิมพ์อื่นๆ เป็นเวลา 5 พรรษา ถือว่าเป็นพิมพ์ทีได้รับการปลุกเสกจากหลวงปู่โต๊ะเป็นเวลายาวนานที่สุด

 

พระสมเด็จปรกโพธิ์ ด้านหลังขององค์พระเป็นตัวหนังสือกดลงไปว่า "หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี" ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นได้ว่า เป็นตัวหนังสือแบบเดียวกับ พระปิดตามหาเสน่ห์ เพียงแต่ลักษณะการวางตัวอักษรไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง

รายการพระเครื่อง วัตถุมงคลที่ออกให้บูชาจากวัดประดู่ในปี พ.ศ. 2524 พระสมเด็จปรกโพธิ์ มีชื่อในรายการว่า "พระสมเด็จปรกโพธิ์ อกร่อง" เพราะว่าอกขององค์พระมีลักษณะเป็นร่องตรงกลาง

พระพิมพ์นี้ในองค์เป็นเนื้อผงเกสร จะถูกแยกออกเป็นสองยุค เรียกเนื้อยุคต้น กับเนื้อยุคหลัง แต่ทั้งหมดคือสร้างในคราวเดียวกัน

เนื้อยุคต้น เนื้อของมวลสารจะออกขาวนวล ดูไม่แน่น เนื้อจะดูฟูๆ เหมือนโดนน้ำแล้วเนื้อพระฟูขึ้นมาแล้วเอาไปตากให้แห้งอีกที ซึ่งเป็นธรรมชาติของ เนื้อยุคต้น เพราะว่ามีส่วนผสมของน้ำมันตั่งอิ้วเป็นส่วนน้อย ก็เป็นเสน่ห์ไปอีกแบบ

เนื้อยุคหลัง เนื้อจะดูออกฉ่ำๆ เพราะว่ามีส่วนผสมของน้ำมันตั่งอิ้วเยอะขึ้น ทำให้สีของเนื้อออกไปทางน้ำตาลปีป หรือน้ำตาลมะพร้าว เนื้อยุคหลังจะเป็นที่นิยมมากกว่า แต่ตัวหนังสือจะพิมพ์ติดไม่ค่อยชัด ในองค์ที่ตัวหนังสือพิมพ์ติดชัดๆ หรือ คมๆ จะเป็นที่นิยมมาก ด้านหลังจะไม่เรียบเสมอกันทั้งแผ่น จะเป็นคล้ายๆกะลามะพร้าวที่เพิ่งปอกเปลือกออก

พระปรกโพธิ์เป็นที่นิยมในหมู่พุทธศาสนิกชนอยู่แล้ว เพราะเปรียบเสมือนอยู่เย็นเป็นสุขใต้ร่มโพธิ์ร่มไทร ตรงยอดเศียรขององค์พระจะมีใบโพธิ์ข้างละเก้าใบ ลักษณะของใบโพธิ์จะเป็นคล้ายๆลูกมะม่วงกลมๆออกรี่ๆเล็กน้อย เห็นเด่นชัด ส่วนใหญ่จะพิมพ์ติดลึกชัดทุกองค์ บางท่านจะเรียกว่า ใบโพธิ์เด้งๆ ก็ไม่ต้องตกใจไป ก็คือความหมายเดียวกัน

เนื้อผงเกสร (น้ำมัน)

เนื้อผงเกสร (น้ำมัน)
เนื้อผงเกสร (น้ำมัน)
เนื้อผงเกสร (น้ำมัน)
เนื้อผงเกสร (น้ำมัน)
  • Instagram
  • Facebook

Instragram: inthasuwanno

Facebook: Inthasuwanno

240170992_110095101397909_3989983082204586790_n.jpg

© 2000 - 2024

bottom of page