top of page

ล็อกเก็ตหลวงปู่โต๊ะ (ออกที่วัดประดู่ฉิมพลี)

ล็อกเก็ตหลวงปู่โต๊ะ (ออกที่วัดประดู่ฉิมพลี) มีอยู่หลักๆด้วยกันสามรุ่น และยังมีรุ่นหลังหนังสือจีนที่เรียกกันอีกชื่อว่ารุ่นโต๊ะกัง กับรุ่นศิษย์ตลาดเก่า


การแยกรุ่นล็อกเก็ตจะแบ่งรุ่นโดยใช้ลักษณะตัวหนังสือหรือลายเซ็นทางด้านหน้าเท่านั้น


รุ่นแรกจัดสร้างขึ้น ปี 2519 จะแบ่งออกเป็นสองแบบ

  • แบบหนังสือโค้ง มีตัวหนังสือว่า “พระสังวรวิมลเถร (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี เป็นลักษณะซุ้มประตูอยู่ด้านบน และมีลายเซ็นของหลวงปู่อยู่ด้านล่าง

  • แบบหนังสือล่าง มีตัวหนังสือว่า “หลวงปู่โต๊ะ” อยู่ด้านล่าง

ทั้งสองแบบจะมี ห้ารูปทรงดังนี้

  1. รูปทรงสี่เหลี่ยม

  2. รูปทรงไข่ใหญ่

  3. รูปทรงไข่เล็ก

  4. รูปทรงไข่จิ๋ว

  5. รูปทรงหัวใจ


ทั้งหมดนี้ด้านหลังจะมีทั้งอุดผงและไม่อุดผง ผงที่ใช้อุดเท่าที่เห็นในรุ่นแรก เป็นผงใบลานทั้งหมด


องค์ที่มีอุดผง มีการกดโค๊ต “ต” อยู่ในวงรัศมี และ “ยันต์นะมหาเศรษฐี” มีวงกลมล้อมรอบอีกที ซึ่งมีลักษณะคล้ายผมส้ม มีทั้งกดแค่โค๊ต “ต” หรือยันต์นะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง


ในแบบตัวหนังสือล่าง มีหลังยันต์ตรีนิสิงเหด้วย ยันต์ตรีนิสิงเหเป็นลักษณะเดียวกับพระคะแนนพิมพ์ยันต์ลึก ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2521 สันนิษฐานว่าแบบตัวหนังสือล่างที่เป็นหลังเปลือย ยังให้บูชาไม่หมดไปจากวัด ประกอบกับมีการจัดสร้างตัวกดยันต์ตรีนิสิงเหขึ้นมา เลยนำเอามาอุดผงใบลานแล้วเอายันต์ตรีนิสิงเหมากดลงไป


รุ่นลายเซ็นล่างจัดสร้างขึ้นปี 2521

จุดสังเกตง่ายๆคือมีลายเซ็นของหลวงปู่โต๊ะอยู่ด้านล่าง


มีด้วยกันห้ารูปทรงเหมือนกับรุ่นแรกดังนี้

  1. รูปทรงสี่เหลี่ยม

  2. รูปทรงไข่ใหญ่

  3. รูปทรงไข่เล็ก

  4. รูปทรงไข่จิ๋ว

  5. รูปทรงหัวใจ

ส่วนโค๊ต นอกจากโค๊ต “ต” และ “ยันต์นะมหาเศรษฐี”เหมือนรุ่นแรกแล้ว ก็มี “ยันต์ตรีนิสิงเห” และ โค๊ต “ดาว” เพิ่มเข้ามาด้วย โค๊ต “ดาว” นี้สันนิษฐานว่าเป็นโค๊ตตัวเดียวกับ โค๊ต “ดาว” ที่ตอกบนเหรียญพัดยศเล็ก ปี 2521


รุ่นลายเซ็นล่างนี้เท่าที่เห็น ผงที่ใช้อุดด้านหลังเป็นผงใบลานทั้งหมด (ถ้ามีการอุดผง)


รุ่นลายเซ็นกลางจัดสร้างขึ้นปี 2521

จุดสังเกตง่ายๆคือมีลายเซ็นของหลวงปู่โต๊ะอยู่ประมาณช่วงอก

มีด้วยหกรูปทรง คือเพิ่มรูปทรงหยดน้ำเข้ามาเป็นดังนี้

  1. รูปทรงสี่เหลี่ยม

  2. รูปทรงไข่ใหญ่

  3. รูปทรงไข่เล็ก

  4. รูปทรงไข่จิ๋ว

  5. รูปทรงหัวใจ

  6. รูปทรงหยดน้ำ


ส่วนโค๊ตจะมีโค๊ต “ต” และโค๊ต “ดาว” กับ “ยันต์ตรีนิสิงเห” และ “ยันต์นะมหาเศรษฐี” เหมือนกับรุ่นลายเซ็นล่าง


รุ่นลายเซ็นกลางนี้มีการอุดด้านหลังทั้งผงใบลาน และผงเกสร (ถ้ามีการอุดผง)


ส่วนรุ่นหลังหนังสือจีนที่เรียกกันอีกชื่อว่ารุ่นโต๊ะกัง กับรุ่นศิษย์ตลาดเก่า ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วว่ามีแบบเดียวทรงเดียวคือรูปไข่หลังปิดแผ่นเงิน (รุ่นศิษย์ตลาดเก่า มีทั้งไข่เล็กและไข่ใหญ่) ผมจะยังไม่ขอลงรายละเอียดในบทความนี้

ดู 2,154 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page