top of page

เหรียญเสมา ปี 2517 หลังยันต์ตรีนิสิงเห เนื้อนวโลหะ

ที่ผมเขียนถึงเรื่องบล็อกไม่ได้เขียนแยกบล็อกเพื่อความนิยม แต่เขียนเพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาเนื้อนวโลหะโดยที่ไม่ต้องไปเช็คเปอร์เซ็นต์โลหะ


ผิวของเนื้อนวโลหะจะมีอยู่ด้วยกันสองโซน

1. ผิวไฟ

2. ผิวกลับดำ

เนื้อนวโลหะจะมีด้วยกันสามบล็อก

  1. ธรรมดา

  2. ทองคำ สามขีด

  3. ห้าจุด

- หลังไม่แตก

- แตกด้านล่างซ้าย

- แตกด้านล่างขวา

- แตกด้านล่างสองข้าง


บล็อกธรรมดาจะไม่มีอะไรเป็นจุดสังเกตที่เด่นชัด


บล็อกทองคำ หลัง 3 ขีด จะมีขีดอยู่สามขีด ตรงด้านข้างของหัวยันต์ตรีนิสิงเห


บล็อกห้าจุด ไม่ได้หมายความว่ามีจุดอยู่ห้าจุด แต่หมายความว่า มีเนื้อเกินอยู่ทางบริเวณด้านซ้ายของเลขห้า ตัวบนสุดในยันต์ตรีนิสิงเห (เลขห้าไทยผสมกับสัญลักษณ์อุณาโลม)




บล็อกทองคำ หลัง 3 ขีด กับบล็อกธรรมดา เราต้องดูเนื้อและกระแสโลหะบนพื้นเหรียญ ในการประกอบการพิจารณาว่าเป็นเนื้อนวโลหะหรือทองแดง


บล็อกห้าจุดจะมีอยู่ในเนื้อนวโลหะ (ในเนื้ออื่นผมยังไม่เคยเห็น) ส่วนบล็อกทองคำ หลังสามขีด กับบล็อกธรรมดาจะมีเห็นอยู่แทบทุกเนื้อ (เนื้อทองแดง เนื้อนวะโลหะ เนื้อเงิน เนื้อนาค เนื้อทองคำ)


ดู 138 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page