top of page
รูปภาพนักเขียนกรณ์ บูลากอน

ตอนที่ 3 ยันต์นะมหาเศรษฐี

ยันต์นะมหาเศรษฐี มีรากฐานมาจากตัว “นะ” กับ สัญญาลักษณ์ “อุณาโลม”

ตัวอักษรขอมหวัด “นะ”
สัญลักษณ์อุณาโลม










ในวงการพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะจะเรียก “ยันต์นะมหาเศรษฐี” กันแบบสั้นๆว่า “ยันต์นะ”


ในความเป็นจริงแล้วจะเรียกว่า “ยันต์นะ” สั้นๆนั้นอาจจะไม่ถูกสักทีเดียว เพราะว่ายันต์ที่ขึ้นด้วย ตัว “นะ” มีเป็นหลักหลายร้อยยันต์


ตัว “นะ” เป็นตัวย่อที่สื่อเป็นภาษาบาลีว่า “นโม” หรือ “นะโม” แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ขอนอบน้อม” หรือ “ความนอบน้อม”


ตัว “นะ” เป็นตัวย่อที่ยังมีอีกความหมายคือ “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ” แปลได้ว่า “ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” ซึ่งก็คือ บทคำบูชาพระพุทธเจ้านั้นเอง


ยันต์นะทั้งหมด สื่อความหมายว่า เราควรมีความนอบน้อมถ่อมตน เมตตาก็จะบังเกิด ซึ่งก็ทำให้เราเป็นคนที่มีเสน่ห์ เป็นที่รักของคนทั่วไป เรียกได้ว่าเปิดโอกาสให้แก่ตัวเองได้รับแต่สิ่งดีๆเข้ามา


ผู้ที่มียันต์นะติดตัว ก็ควรระลึกถึง ความนอบน้อม และ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ เพื่อให้อนุภาพของยันต์มีผลสูงสุดแก่ตัวเราเอง


“อุณาโลม” ที่หลวงปู่ใช้กับยันต์นะมหาเศรษฐี มีสองแบบ

- แบบ อุณาโลม 5 หยัก - แบบ อุณาโลม 3 หยัก

อุณาโลม 5 หยัก
อุณาโลม 3 หยัก









ถ้าเป็นอุณาโลมแบบ 5 หยัก ก็จะใช้ยันต์สี่ทิศหรือยันต์สี่ธาตุเชื่อม ตัว “นะ” กับ “อุณาโลม” ต่อเข้าด้วยกัน


แต่ถ้าเป็นแบบ 3 หยักจะมีทั้งใช้ยันต์สี่ทิศหรือยันต์สี่ธาตุเชื่อม ตัว “นะ” กับ “อุณาโลม” ต่อเข้าด้วยกัน หรือเป็นแค่ ตัว “นะ” กับ “อุณาโลม” เท่านั้น


ที่เป็นยอดหยัก 5 ชั้น จะเรียกว่า อุณาโลมพระเจ้า 5 พระองค์คือ

- พระกกุสันธพุทธเจ้า - พระโกนาคมนพุทธเจ้า - พระกัสสปะพุทธเจ้า - พระโคตมพุทธเจ้า - พระศรีอริยเมตไตรย


ที่มียอดหยัก 3 ชั้น ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ แต่ยังคงมีความหมาย เพื่อระลึกถึง

- คุณของพระพุทธเจ้า - คุณของพระธรรมคำสอน - คุณของพระสงฆ์สาวก


เหมือนที่เรากราบสามครั้ง (เสริมนอกเรื่อง ที่เรากราบสามครั้ง ไม่ใช่แค่กราบเฉยๆ เมื่อกราบครั้งที่หนึ่ง ให้ระลึกถึง คุณของพระพุทธเจ้า เมื่อกราบครั้งที่สอง ให้ระลึกถึง คุณของพระธรรมคำสอน เมื่อกราบครั้งที่สาม ให้ระลึกถึง คุณของพระสงฆ์สาวก ไปด้วย)


“อุณาโลม” เป็นสัญลักษณ์ มีที่มาและปรับเปลี่ยนมาจาก อักขระและคำว่า “โอม” ซึ่งเป็นคำผสมระหว่าง “อะ” “อุ” “มะ” (เมื่อพูดรวมกัน ทำให้ออกเสียงเป็นคำว่า “โอม”)


สัญลักษณ์โอม แบบที่ 1
สัญลักษณ์โอม แบบที่ 2











“อะ” “อุ” “มะ” ทั้งสามคำเป็นเสียงสุดท้ายของชื่อเรียกเทพเจ้าทั้งสามองค์ หรือที่เรียกกันว่า “ตรีมูรติ” ของศาสนาฮินดู ดังนี้

พระศิวะ (อะ) - (พระผู้ทำลาย) พระวิษณุ (อุ) - (พระผู้ปกป้องรักษา) พระพรหม (มะ) - (พระผู้สร้าง)


ส่วนในทางพุทธศาสนา “อะอุมะ” หมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือที่เราเรียกกันว่า พระรัตนตรัย


(อะ) อรหัง หมายถึง พระพุทธเจ้า (อุ) อุตตมธัมมะ หมายถึง พระธรรม (มะ) มหาสังฆะ หมายถึง พระสงฆ์


ความหมายของอุณาโลมคือ ขน (พระโลมา) ระหว่างคิ้ว (พระขนง) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของมหาบุรุษ

อุณาโลมเป็นเครื่องหมายมงคลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยรัตนโกสินทร์ มักใช้เป็นสัญลักษณ์ในการปิด เหมือนการปิดประโยค เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลและความศรัทธา

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงใช้ตราอุณาโลมเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เริ่มใช้คราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2328










สภากาชาดเมื่อแรกตั้งในเมืองไทยนั้น ได้ทำเครื่องหมายเป็นรูปอุณาโลมสีแดง และเรียกว่า สภาอุณาโลมแดง


ตรากองทัพบกไทย

ตราของกองทัพยกไทยก็มีสัญลักษณ์ “อุณาโลม” อยู่ด้วย










ยันต์นะมหาเศรษฐี เป็นยันต์ที่เรียบง่ายได้ใจความ คือ มีตัว “นะ” ที่หมายถึง ความนอบน้อม เพื่อให้บังเกิด “นะเมตตา” “นะมหานิยม” ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโภคทรัพย์ แล้วเพิ่มทวีคุณไม่รู้จบด้วย สัญลักษณ์ “อุณาโลม” แต่ก็ยังแฝงให้คำนึงถึง พระรัตนตรัยไปด้วย


การได้ผลประโยชน์สูงสุดจากยันต์นะมหาเศรษฐีนี้ เราจะต้องมีความนอบน้อม มีคุณธรรม และประพฤติชอบด้วย แล้วยันต์จะช่วยเสริมดวงเราไปในทางที่ดีขึ้น


พระเครื่องที่ใช้ยันต์นะมหาเศรษฐี

พระปิดตา ปลดหนี้ หลังยันต์นะ พระปิดตา นะทะนะ พระปิดตา ตุ๊กตาใหญ่ พระสิวลี พิมพ์รูปไข่ พระผงของขวัญ พระผงรูปเหมือนใบโพธิ์ หลังยันต์นะ พระสมเด็จชุนดูฮวาน พระปิดตา ข้าวตอกแตก หลังยันต์นะ พระปิดตา ข้าวตอกแตก เนื้อนวโลหะ พระปิดตา พิมพ์ใบโพธิ์ เนื้อนวโลหะ

เหรียญที่ใช้ยันต์นะมหาเศรษฐี เหรียญล้มแม็กใหญ่ เหรียญล้อแม็กเล็ก เหรียญรุ่นสาม กลมเล็ก รูปเหมือนหลวงปู่ พิมพ์ใบโพธิ์ พระนาคปรกใบมะขาม หลังยันต์นะ

ดู 363 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page