สององค์นี้ทางวัดให้บูชาเมื่อปี 2524 ในราคา 50 บาทเท่ากัน
พระปิดตา ปลดหนี้ ใบลาน ยันต์นะมหาเศรษฐี และยันต์ตรีนิสิงเห อยู่ในรายการที่ 32 และ 33 (สองรายการ สุดท้าย) ตามลำดับ ของ “รายการพระเครื่อง วัตถุมงคล” ในใบปลิว (โบชัวร์) “ขอเชิญชมวัตถุมงคล” (ปี 2524 หลังหลวงปู่ มรณภาพ)
32. พระปิดตามหาลาภ รุ่น 3 ไตรมาส หลังตัวนะ (เนื้อผงใบลานบรรจุตะกรุดเงินเส้นเกศา พิมพ์เล็ก ราคา 50 บาท 33. พระปิดตามหาลาภ รุ่น 3 ไตรมาส หลังยันตรีนิสิงเห (เนื้อผงใบลาน บรรจุตะกรุดเงินเส้นเกศา) พิมพ์เล็ก ราคา 50 บาท
พระปิดตาทุกแบบทุกพิมพ์ ถูกเรียกว่า “พระปิดตามหาลาภ” เหมือนกันทั้งหมด (ยกเว้นพระปิดตา พิมพ์ข้าวตอกแตก) จึงทำให้เกิดการสับสนในการเรียกพระเครื่องในแต่ละพิมพ์ ตรงนี่แหละทำให้เราทราบว่า ทำไมมีการเรียกชื่อแต่ละพิมพ์แตกต่างจากทางวัด เพราะง่ายแก่การจดจำ จากเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ จนกลายเป็นชื่อที่ติดปากและเป็นทางการ เหมือนที่เราเรียกกันในปัจจุบัน
ในรายการเรียกหลังยันต์นะมหาเศรษฐี ว่า “หลังตัวนะ” ที่เรียกว่า “ตัวนะ” เพราะ “นะ” เป็นตัวอักขระขอม จะใช้เรียกเป็นตัว เหมือนที่เราเรียก ตัว ก-ฮ ตัวนะเป็นอักขระเริ่มต้นของยันต์ “นะมหาเศรษฐี” ของหลวงปู่
ส่วนหลังยันต์ตรีนิสิงเห เรียกเหมือนกัน แต่สะกดตัวอักษรตกไป เป็น “ยันตรีนิสิงเห” (รายการอื่นๆ ที่เป็นหลังยันต์ตรีนิสิงเห สะกดถูก) ซึ่งถ้าเราไปอ่านหนังสือ, ใบปลิว, หรือสิ่งพิมพ์ในยุคนั้น จะทราบเลยว่าไม่ใช่เรื่องแปลก พิมพ์ผิดบ้าง ตกหล่นบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา
ในรุ่น 3 ไตรมาส เรียก จัมโบ้ 2 ว่าพิมพ์ใหญ่ และเรียก ยันต์ดวงเล็ก, ปลดหนี้ หลังยันต์นะ, กับ ปลดหนี้ หลังยันต์ตรีนิสิงเห ว่า พิมพ์เล็ก ถึงแม้ว่าปลดหนี้ ทั้งสองพิมพ์มีขนาดไม่เล็กเท่ายันต์ดวงเล็กก็ตาม
See Translation
Comments